โครงสร้างทางเศรษฐกิจ/รายได้ประชากร
โครงสร้างทางเศรษฐกิจในเขตเทศบาลตำบลโพหักแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ ๆ
1) ประชากรหนุ่มสาว-ชายหญิงที่มีวุฒิการศึกษา ม.3 เป็นต้นไป นอกเหนือจากการทำธุรกิจส่วนตัว แล้วยังรับจ้างทำงานในบริษัท โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก-ขนาดใหญ่ในละแวกใกล้เคียง เช่นโรงงานน้ำส้ม - ผลไม้กระป๋อง โรงงานยาง โรงงานห้องเย็น เป็นต้น มีรายได้เฉลี่ยประมาณคนละ 50,000-60,000 บาทต่อปี พร้อมกับสวัสดิการตามเงื่อนไขในแต่ละโรงงานหรือบริษัท
2) กลุ่มผู้ที่ไม่มีวุฒิการศึกษา จะรับจ้างทั่วไปภายในหมู่บ้าน เช่น ลากกุ้ง,เกี่ยวข้าว,ทำสวน,ทำไร่,สร้างบ้าน เป็นต้น บุคคลเหล่านี้จะมีค่าจ้างเป็นรายวันเฉลี่ยประมาณวันละ 120 – 160 บาท ไม่มีสวัสดิการใดๆ ทั้งสิ้น มีรายได้ เฉลี่ยประมาณคนละ 24,000-36,000 บาท ต่อปี
การเกษตรกรรม
ตารางแสดงพื้นที่ทั้งหมด : พื้นที่ทำการเกษตร
หมู่ที่ ชื่อชุมชน |
พื้นที่ ทั้งหมด (ไร่) |
พื้นที่ทำการ เกษตร |
ครัวเรือน ทั้งหมด |
ครัวเรือน เกษตรกร |
พื้นที่ ทำการเกษตร |
|||||||
ข้าว |
พืช-ผัก |
ไม้ผล |
ไม้ดอก |
ไม้ยืนต้น |
ประมง |
ปศุสัตว์ |
อื่นๆ |
|||||
1.บ้านท่าใหญ่ |
40 |
9 |
139 |
26 |
- |
- |
- |
- |
- |
3 |
6 |
31 |
2.บ้านสามแยก |
2,550 |
1,276 |
212 |
100 |
302 |
- |
- |
- |
- |
964 |
10 |
1,274 |
3.บ้านวังกล่ำ |
2,803 |
2,085 |
455 |
93 |
160 |
- |
- |
- |
- |
1,875 |
50 |
718 |
4.บ้านหัวบ้าน |
3,304 |
1,877 |
401 |
98 |
17 |
- |
- |
- |
- |
1,805 |
55 |
1,428 |
5.บ้านหย่อม |
2,800 |
2,032 |
185 |
127 |
247 |
- |
- |
- |
- |
1,775 |
10 |
768 |
6.บ้านหน้าศาล |
2,807 |
1,663 |
340 |
86 |
672 |
- |
- |
- |
- |
965 |
26 |
1,144 |
7.บ้านท้ายวัด |
1,103 |
971 |
275 |
72 |
391 |
- |
- |
- |
- |
556 |
24 |
332 |
8.บ้านวังกุ่ม |
1,418 |
1,281 |
160 |
123 |
722 |
- |
- |
- |
- |
534 |
25 |
137 |
9.บ้านรางห้วยชัน |
2,971 |
2,237 |
157 |
146 |
741 |
40 |
529 |
35 |
67 |
820 |
5 |
734 |
10.บ้านหัวเกาะ |
1,342 |
1,039 |
299 |
85 |
357 |
- |
- |
- |
- |
670 |
12 |
303 |
11.บ้านสามง่าม |
1,234 |
968 |
195 |
84 |
316 |
- |
- |
- |
- |
650 |
2 |
266 |
รวม |
22,372 |
15,438 |
2,818 |
1,040 |
3,925 |
40 |
529 |
35 |
67 |
10,617 |
225 |
6,934 |
(ข้อมูล : ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลโพหัก กุมภาพันธ์ 2556)
ระบบการผลิต เป็นการผลิตเพื่อจำหน่าย
- ข้าว เกษตรกรปลูกข้าวนาปี ปีละ 2 ครั้ง
- ข้าวนาปรัง การปลูก เดือน มีนาคม – เมษายน เก็บเกี่ยว เดือน มิถุนายน – กรกฎาคม
- ข้าวนาปี (ใช้พันธุ์ข้าวไม่ไวแสง) การปลูก เดือน กรกฎาคม – สิงหาคม เก็บเกี่ยว เดือน ธันวาคม – มกราคม
- ผัก – ถั่วฝักยาว ปลูกตลอดปี - ผักคะน้า ปลูกตลอดปี - แตงกวา ปลูกตลอดปี
- การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามการเลี้ยงพฤษภาคม – กันยายนหรือเลี้ยงกันตลอดปี แล้วแต่จะได้พันธุ์กุ้ง
การปศุสัตว์
การเลี้ยงสัตว์
สุกรเลี้ยงเพื่อจำหน่าย มีฟาร์มขนาดใหญ่ 3 ฟาร์ม
เป็ดไข่เลี้ยงเพื่อจำหน่าย มีฟาร์มขนาดใหญ่ 2 ฟาร์ม
โคนมเลี้ยงจำหน่าย มีฟาร์มใหญ่ 2 ฟาร์ม
เป็ดเนื้อ เลี้ยงเพื่อจำหน่าย มีฟาร์มขนาดใหญ่ 2 ฟาร์ม
การพาณิชย์/การบริการ
ลักษณะร้านค้าภายในชุมชนจะมีอยู่อย่างหนาแน่นในเขตพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านวังกล่ำ ส่วนใหญ่จะเป็นร้านค้า ธนาคาร ประเภทขายของใช้ส่วนตัว ของใช้ในครัวเรือน ร้านขายยาและร้านอาหารสัตว์ เป็นต้น มีธนาคาร 1 แห่ง คือ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาย่อยโพหัก นอกจากนี้ยังมีร้านให้บริการรับซ่อมรถจักรยานยนต์ โรงงานทำน้ำแข็งร้านเสริมสวย-ร้านตัดผม ปั๊มน้ำมัน ร้านซ่อมโทรทัศน์/เครื่องใช้ไฟฟ้า-โรงสี
ในแต่ละสัปดาห์ยังจัดให้มีตลาดนัดชุมชนจำหน่ายสิ่งของเครื่องใช้ - เพื่อการอุปโภคและบริโภค สำหรับประชาชนภายในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้และการกระจายรายได้ในชุมชน
วันอาทิตย์ตลาดนัดหมู่ที่ 3 (วันนัดใหญ่) บริเวณริมถนนสายโพหัก – บ้านแพ้ว
วันอังคาร,วันศุกร์ ตลาดนัด หมู่ที่ 3 ตรงข้ามท่ารถประจำทางโพหัก-โพธาราม, ริมถนนสายโพหัก – บ้านแพ้ว
วันพุธ ตลาดนัดลานวัดใหญ่โพหักหมู่ที่ 6 (วันนัดใหญ่)
วันพฤหัสบดี ตลาดนัดริมถนนสายโพหัก - บ้านแพ้ว
วันเสาร์ตลาดนัดศาลเจ้าแม่เบิกไพรหมู่ที่ 6
การอุตสาหกรรม
ในเขตเทศบาลตำบลโพหัก ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่เข้ามาดำเนินการ เนื่องด้วยพื้นที่ใกล้เคียงได้แก่ จ.นครปฐม จ.สมุทรสาคร จ.ราชบุรี เป็นเขตของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ดังนั้น อุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นจึงมีลักษณะเป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน ซึ่งอาศัยแรงงานเพียงไม่มากหรืออาจจ้างแรงงานเป็นรายวัน อุตสาหกรรมที่สำคัญภายในท้องถิ่น ได้แก่ การทำขนมจีนแป้งหมักในท้องที่หมู่ที่ 3 บ้านวังกล่ำ การปั้นตุ่มซีเมนต์ในท้องที่หมู่ที่ 5 บ้านหย่อม การทำอุตสาหกรรมน้ำดื่มในท้องที่หมู่ที่ 4 จำนวน 3 ราย อุตสาหกรรมโรงสีข้าว จำนวน 2 แห่ง อุตสาหกรรมโรงงานต่อเหล็ก จำนวน 1 แห่ง ในท้องที่หมู่ที่ 4 บ้านหัวบ้าน
การท่องเที่ยว
- บริเวณหมู่ที่ 2 บ้านทัพโพธิ์ทองในเขตเทศบาลตำบลโพหัก มีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือ แหล่งโบราณคดี “โคกพลับ“ แหล่งอารยะธรรมก่อนประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะวัฒนธรรมใกล้เคียงกับวัฒนธรรมบ้านเชียง
- โบราณสถานคือ วัดใหญ่โพหัก ซึ่งเป็นวัดที่เก่าแก่ และงานประเพณีแข่งขันเรือยาวประจำปีซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงอาทิตย์แรกหลังจากวันออกพรรษา ของทุกปี
- ในอนาคตเทศบาลตำบลโพหักได้จัดทำแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวของท้องถิ่น โครงการพัฒนาแหล่งโบราณคดีโคกพลับ
การท่องเที่ยว
- บริเวณหมู่ที่ 2 บ้านทัพโพธิ์ทองในเขตเทศบาลตำบลโพหัก มีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือ แหล่งโบราณคดี “โคกพลับ“
แหล่งอารยะธรรมก่อนประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะวัฒนธรรมใกล้เคียงกับวัฒนธรรมบ้านเชียง
- โบราณสถานคือ วัดใหญ่โพหัก ซึ่งเป็นวัดที่เก่าแก่ และงานประเพณีแข่งขันเรือยาวประจำปีซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงอาทิตย์แรกหลังจากวันออกพรรษา ของทุกปี
- ในอนาคตเทศบาลตำบลโพหักได้จัดทำแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวของท้องถิ่น โครงการพัฒนาแหล่งโบราณคดีโคกพลับ